updates
8 Apr 2021: Statement from Steve Trent, EJF on Thai Fishing Reform

(Information Source: EJFoundation.org, on Thu Apr 08, 2021)

 

Statement from Steve Trent, director of the Environmental Justice Foundation (EJF) on reform and improvement of the Thai fishing industry.

APR 08, 2021

By EJF Staff

 

EJF has been working in Thailand since 199 when IUU and forced labour situation was very bad. The EJF interviewed for the documentary film Seasiparacy was when the situation described above still occurred in the Thai fishing industry.

 

At the time, EJF's 2014, 2015 and 2016 reports and articles from the Guardian and the Associated Press published on the illegal, unreported and unregulated (IUU) fishing issue. Thailand was given a lower rank in the US’s Human trafficking report(TIP Report) in 2011. European Union gave a yellow card to Thailand in 2012.

 

After that myself and all EJF officials in Thailand, have seen Thailand's serious efforts on their own over the years. The Thai government has always shown leadership and determination in solving these problems. The EJF appreciates the Thai government for their efforts and achievements in solving the chronic problems that have been in the fishing industry for decades.

 

Efforts include:

  • Installation of a VMS on tens of thousands of Thai fishing vessels.
  • Revisions to the Royal Ordinance on Fisheries and Related Laws Establishment of a fishing vessel entry-exit control center
  • And requiring the inspection of fishing vessels in front of the port
  • Prohibition of transfer of aquatic animals at sea Blacklisting of boat owners and ship controllers who have been involved in illegal fishing Dissemination of Thai fishing boat information to the public
  • And being the first country in Southeast Asia to sign the ratification of the International Labor Organization (ILO) Convention No.188 (C188)

 

These achievements led to the release of the EU yellow card in 2019 and the upgrade in the TIP Report.

There are still gaps that need to be improved such as:

  • amending and revising laws to allow migrant workers to be a leader in a trade union
  • adding improvements to laws and regulations that will allow officials to identify and bring Thai beneficiaries involved in illegal fishing vessels and violating labor rights in international waters into legal proceedings.

 

EJF believes that the Thai government has the potential to build on the success in the past five years by:

  • Managing the fishing industry towards a truly sustainable and legal and ethical industry, it should also
  • Ensuring that the inspection of both inland and offshore fishing vessels is carried out with adequate budget and personnel.

 

EJF encourags the adoption of EJF’s 10 principles of transparency in the fishing industry. All 10 principles are comprehensive and are a combination of actionable technology and legal mechanisms, such as

  • Increasing the intensity of the use of fishing vessel tracking technology.
  • Public Disclosure of Fishing Vessels
  • Strengthening regional and international cooperation in solving the problem of illegal fishing.
  • And the signing of the ratification of additional relevant international conventions.

 

Implementing comprehensive transparency principles and mechanisms in the management of the Thai Commercial Fishing Fleet will enhance the reliability of traceability and accountability of the Thai fishing industry. This gives consumers, retailers and supermarkets more confidence in choosing to consume and sell sustainable Thai seafood. Legitimate And true ethical principles

 

Read more about EJF's work in Thailand in our report “Thailand's Road to Reform”.

For more information on the EJF Fisheries Industry Transparency Campaign, please read more information at: https://ejfoundation.org/reports/out-of-the-shadows-improving-transparency-in-global-fisheries-to-stop-illegal-unreported-and-unregulated-fishing

 

Thai Source Article

 

แถลงการณ์จากสตีฟ เทรนท์ ผู้อำนวยการมูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม (EJF) เรื่องการปฏิรูปและปรับปรุงอุตสาหกรรมการประมงไทย

 

APR 08, 2021

By EJF Staff

 

ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Seasiparacy ที่เพิ่งออกฉายทาง Netflix เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้คนทั่วไปหันมาให้ความสนใจและก่อให้เกิดบทสนทาในสาธารณะเกี่ยวกับอุตสาหกรรมประมงไทยมากขึ้น

 

EJF ได้เข้ามาทำงานในประเทศไทยตั้งแต่พ.ศ. 2557 โดยเริ่มจากการทำงานเพื่อสืบสวนกรณีพฤติกรรมการทำประมงผิดกฎหมายและทำลายล้าง และปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทย โดยในช่วงนั้น การทำงานในประเทศไทยทำให้เราได้ค้นพบข้อเท็จจริงหลายอย่างที่น่ากังวล ทั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่พบได้ทั่วไปในอุตสาหกรรมประมง ซึ่งตอนนั้นเป็นอุตสาหกรรมที่ขาดการจัดการควบคุมอย่างยั่งยืน ทำให้เกิดการทำประมงเกินขอบเขต จนทำให้ทรัพยากรประมงนั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัด และทำให้ผู้ประกอบการหลายคนต้องหันไปพึ่งพาการใช้แรงงานราคาถูกเพื่อลดต้นทุน ทำให้เกิดการใช้แรงงานบังคับ แรงงานขัดหนี้ และแรงงานทาสในอุตสาหกรรมประมงมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยในช่วงเวลาที่ทาง EJF ได้ให้สัมภาษณ์แก่ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Seasiparacy เป็นช่วงเวลาที่สถานการณ์ที่อธิบายมาด้านบนยังคงเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการประมงไทย

 

ในตอนนั้น รายงานของ EJF ในปีช่วงปี พ.ศ. 2557 2558 และ 2559 และบทความจากหนังสือพิมพ์ the Guardian และสำนักข่าว Associated Press ได้ตีพิมพ์เกี่ยวกับปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) การทำร้ายร่างกาย การบังคับใช้แรงงาน และการฆาตกรรมที่เกิดขึ้นบนเรือประมงไทยในช่วงนั้น เพื่อเป็นการตีแผ่ถึงปัญหาที่ร้ายแรงและควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยปัญหาด้านการทำประมงผิดหฎหมายและการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ถูกค้นพบในอุตสาหกรรมเหล่านี้ส่งผลกระทบให้ประเทศได้ถูกลดดับในรายงานการค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกา (TIP Report) ในพ.ศ. 2554 และทำให้สหภาพยุโรปได้มอบคำเตือนอย่างเป็นทางการ หรือใบเหลืองให้แก่ประเทศไทยในพ.ศ. 2555 เพิ่งผลักดันให้ประเทศไทยดำเนินการแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างเร่งด่วน

 

หลังจากนั้นเอง รัฐบาลไทยจึงได้มีความพยายามในการแก้ไขกรอบกฎหมายด้านการดูแลและบริหารจัดการการประมงไทย และยังได้มีการมุ่งมั่นพัฒนาและเพิ่มความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อกำจัดปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรประมง และปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันร้ายแรงให้หมดไปจากอุตสาหกรรมประมง

 

ไทยอย่างจริงจัง โดยได้มีการทุ่มเทความพยายามและงบประมาณเพื่อทำให้การดำเนินงานนี้สัมฤทธิ์ผล และตัวข้าพเจ้าเอง เช่นเดียวกันกับเจ้าหน้าที่ของ EJF ประจำประเทศไทยทุกคนก็ได้เห็นความจริงจังในความพยายามของประเทศไทยด้วยตนเองในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งผ่านการทำงานและให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหากับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และผ่านการหารือกับรัฐบาลไทย ซึ่งทางรัฐบาลไทยนั้นเองได้แสดงความเป็นผู้นำและความตั้งใจในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ตลอดมา EJF ขอชื่นชมทางรัฐบาลไทยในความพยายามและความสำเร็จที่ผ่านมาในการแก้ไขปัญหาที่เรื้อรังอยู่คู่อุตสาหกรรมประมงมาหลายทศวรรษ และยังขอแนะนำให้รัฐบาลไทยเดินหน้าในการแก้ปัญหาด้านนี้ต่อไป

 

ปัญหาด้านการทำประมงผิดกฎหมายการละเมิดสิทธิแรงงานในอุตสาหกรรมประมงไทยนั้น ยังคงมีช่องว่างที่ต้องปรับปรุง และอุตสาหกรรมประมงเองนั้นก็ต้องปรับปรุงและปรับตัวให้เท่าทันกับความพยายามในการแก้ปัญหาของรัฐบาลเช่นเดียวกัน

 

การดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เช่น การติดตั้งระบบติดตามเรือประมง (VMS) บนเรือประมงไทยหลายหมื่นลำ การปรับปรุงแก้ไขพระราชกำหนดการประมงและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การจัดตั้งศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง และการกำหนดให้มีการตรวจเรือประมงหน้าท่า การห้ามขนถ่ายสัตว์น้ำกลางทะเล การขึ้นบัญชีดำเจ้าของเรือและผู้ควบคุมเรือที่เคยเกี่ยวข้องกับการทำประมงผิดกฎหมาย การเผยแพร่ข้อมูลเรือประมงไทยสู่สาธารณะ และการเป็นชาติแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการลงนามให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 188 (C188) เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของความสำเร็จของประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายและการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง และความสำเร็จเหล่านี้เป็นสิ่งที่ประเทศไทยควรภูมิใจ เนื่องจากความสำเร็จเหล่านี้ช่วยนำไปสู่การปลดใบเหลืองของสหภาพยุโรปให้แก่ประเทศไทยในพ.ศ. 2562 และการปรับระดับของประเทศไทยในรายงาน TIP Report

 

อย่างไรก็ตาม ยังมีองค์ประกอบและช่องว่างที่ประเทศไทยสามารถปรับปรุงได้อีกเพื่อส่งเสริมและยกระดับความยั่งยืนและการปกป้องสิทธิมนุษยชนในอุตสาหกรรมประมงไทยให้เพิ่มสูงยิ่งขึ้นไปอีก เช่น การแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายเพื่ออนุญาตให้แรงงานข้ามชาติสามารถก่อตั้งและเป็นผู้นำในสหภาพแรงงานได้ หรือการเพิ่มการปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถระบุตัวและนำผู้ได้รับผลประโยชน์สัญชาติไทยที่เกี่ยวข้องกับเรือประมงที่ทำการประมงผิดกฎหมายและละเมิดสิทธิแรงงานในน่านน้ำสากลมาเข้าสู่กระบวนทางกฎหมายได้

 

EJF เชื่อมั่นว่ารัฐบาลไทยมีศักยภาพในการเดินหน้าเพื่อแก้ไขปัญหาและต่อยอดจากความสำเร็จของการปฏิรูปอุตสาหกรรมประมงที่ได้ดำเนินการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยประเทศไทยควรมุ่งหน้าต่อในการใช้หลักวิทยาศาสตร์มาส่งเสริมการจัดการอุตสาหกรรมประมงเพื่อทำให้อุตสาหกรรมกลายเป็นอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนและถูกต้องตามกฎหมายและหลักจริยธรรมอย่างแท้จริง นอกจากนี้ ยังควรมุ่งเน้นและทำให้แน่ใจว่าการตรวจเรือประมงทั้งหน้าท่าและกลางทะเลจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่องโดยมีการสนับสนุนทางด้านงบประมาณและบุคลากรอย่างเพียงพอ

 

ประเทศยังคงมีโอกาสทีจะเรียนรู้จากข้อผิดพลาดและปัญหาในอดีตที่ทำให้การทำประมงผิดกฎหมายและการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นในอดีตต่อไป โดย EJF ขอสนับสนุนให้มีการนำหลักการด้านความโปร่งใสในอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเลทั่วโลก 10 ข้อ ของ EJF มาปรับใช้ในประเทศไทย โดยการนำหลักการเหล่านี้มาใช้จะช่วยส่งเสริมศักยภาพความเป็นผู้นำของประเทศไทยในการจัดการทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน เนื่องจากหลักการทั้ง 10 ข้อนั้นครอบคลุมและเป็นการผสานระหว่างการใช้เทคโนโลยีและกลไกทางกฎหมายที่สามารถนำไปดำเนินการได้จริง เช่น การเพิ่มระดับความเข้มข้นในการใช้เทคโนโลยีการติดตามเรือประมง การเปิดเผยข้อมูลเรือประมงสาธารณะ การสร้างเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาคและนานาชาติในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย และการให้ลงนามให้สัตยาบันในอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

การนำหลักการและกลไกด้านความโปร่งใสที่ครอบคลุมทุกมิติไปดำเนินการในการบริหารจัดการกองเรือประมงพาณิชย์ไทยจะช่วยยกระดับความน่าเชื่อถือของการตรวจสอบย้อนกลับและความรับผิดชอบของอุตสาหกรรมประมงไทย ทำให้ผู้บริโภค ผู้ค้าปลีก และซูเปอร์มาร์เก็ตนั้นมั่นใจยิ่งขึ้นในการเลือกบริโภคและจำหน่ายอาหารทะเลไทยที่มาจากการทำประมงอย่างยั่งยืน ถูกต้องตามกฎหมาย และหลักจริยธรรมอย่างแท้จริง

 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานของ EJF ในประเทศไทยได้ในรายงาน “Thailand’s Road to Reform”.

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานรณรงค์เพื่อสร้างเสริมความโปร่งใสในอุตสาหกรรมประมงของ EJF กรุณาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://ejfoundation.org/reports/out-of-the-shadows-improving-transparency-in-global-fisheries-to-stop-illegal-unreported-and-unregulated-fishing

 

Copyright © 2017 Kingfisher Holdings, Ltd. All Rights Reserved Sound